การแก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ - Systematic Problem Solving & Decision Making

          เนื่องจากปัญหาเกิดได้จากหลาย ๆ ปัจจัย ทั้งที่เราได้ตระหนักและป้องกันไว้ก่อนแล้ว หรือ จากปัจจัยที่คาดไม่ถึงก็ตาม แม้ไม่มีใครต้องการให้ปัญหาเกิดขึ้นกับเราทั้งนี้ชีวิตประจำวันและการทำงาน แต่มันก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ดังนั้น การแก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ จึงเป็นกระบวนการสำคัญให้เราเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้แนวทางในการวิเคราะห์ปัญหา พร้อมกับเครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ นำประกอบ นำไปสู่การตัดสินใจได้อย่างมั่นใจและเหมาะสม เพื่อให้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ตรงจุด ไม่เสียเวลา ลดและป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ ๆ ในอนาคตอีกด้วย
วัตถุประสงค์
          1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การแก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ด้วยการวิเคราะห์และใช้เครื่องมือต่าง ๆ ประกอบอย่างเหมาะสม
          2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทำความเข้าใจการแก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากการทำกิจกรรมร่วมกันและตัวอย่างกรณีศึกษา
          3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม พัฒนาทักษะ สามารถนำเครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ ไปปรับประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ แก้ปัญหาและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เนื้อหาหลักสูตร
Module 1 : ทำไมต้องคิด
        1. ทำไมต้องคิดวิเคราะห์ เรียนรู้กับ René Descartes
Module 2 : วิเคราะห์ปัญหา
        1.  กิจกรรม : ปัญหาคืออะไร
        2. นิยามของปัญหา
        3. กิจกรรม : ระบุปัญหาในการทำงาน
        4. เครื่องมือวิเคราะห์ความสำคัญของปัญหา
              • กิจกรรม : วิเคราะห์ความสำคัญของปัญหา
Module 3 : การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยเครื่องมือ Design Thinking                 
        1. Design Thinking คึืออะไร นิยาม
        2. ตัวอย่างองค์กรที่ใช้ Design Thinking
        3. 5 ขั้นตอนของ Design Thinking
              • ใจเขาใจเราเพื่อทราบปัญหา (Empathize)
                 -  ทำไมต้องใจเขาใจเรา​                                      -  ตัวอย่างจาก UPMC, Hatch & Bloom
                 -  ทำไมต้องใช้ข้อมูลโดย รวิศ หาญอุตสาหะ CEO ของ บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด
                 -  เครื่องมือ (วิธีการ) เพื่อเก็บข้อมูล
​                    ▪  วิจัยเชิงทดลอง                                             ▪  วิจัยเชิงปริมาณ 
​                    ▪  วิจัยเชิงคุณภาพ
                 -  วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเก็บข้อมูล
​                    ▪  Extreme & Expert                                      ▪  การกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างเพื่อเก็บข้อมูล
                 -  กิจกรรม: วางแผนเก็บข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาจากสถานการณ์หน้างานจริง
              • ระบุปัญหา
                 -  การระบุปัญหาด้วย POV
​                    ▪  ความต้องการพื้นฐาน (Need)                        ▪  ความต้องการที่ซ่อนไว้ (Insight)
                 -  กิจกรรม: ระบุปัญหาจากสถานการณ์หน้างานจริง
              • ระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา
                 -  การระดมความคิดด้วย SCAMPER
​                    ▪  Substitute (ทดแทน)                                   ▪  Combine (ผสม)
                    ▪  Adapt (ปรับ)                                               ▪  Modify / Magnify / Minify (ลด เพิ่ม)
                    ▪  Put to another use (นำไปใช้อย่างอื่น)         ▪  Eliminate (ตัดลด)
                    ▪  Reverse / Rearrange (เรียงใหม่)
                       *  ตัวอย่างจาก Apple, IKEA, Netflix, Blockchain, SSO
                 -  กิจกรรม : หาวิธีเพื่อแก้ปัญหาจากสถานการณ์หน้างานจริง
             • วางแผนการแก้ปัญหาด้วยการสร้างต้นแบบ และทดสอบ
                 -  วางแผนปัญหาด้วย Scrum
                    ▪  Silo กับ Scrum                                          ▪  ค่านิยมของ Scrum
                    ▪  สมาชิกของ Scrum                                     ▪  ขั้นตอนการ Scrum
                    ▪  Scrum Planning - Story Point
                 -  กิจกรรม: วางแผนแก้ปัญหาจากสถานการณ์หน้างานจริง
Module 4 : การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
        1. ขั้นตอนการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
             • ระบุผลประโยชน์ที่ต้องการ
                -  กิจกรรม : กำหนดผลประโยชน์และระดับความต้องการ
             • ระบุทางเลือกที่เป็นไปได้
                -  กิจกรรม : เปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดแต่ละทางเลือก
             • ประเมินทางเลือก
                -  กิจกรรม : คำนวณความน่าจะเป็น
        2. กิจกรรม : ฝึกตัดสินใจจากสถานการณ์จริงหน้างาน
รูปแบบการอบรม
•  บรรยาย / นำเสนอ / กิจกรรมกลุ่ม
•  สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้มีความสนุกสนานเป็นกันเองและมีการแข่งขัน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมกล้าแสดงความคิดเห็นกล้าแสดงออก
•  สร้างทัศนคติเชิงบวกและกระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
วิทยากร : ดร. จอมพล  จีบภิญโญ
•  วิทยากร / ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการองค์กรและบริหารทรัพยากรบุคคลให้แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนหลายแห่ง อาทิเช่น กระทรวงอุตสาหกรรม / กสทช / กรุงศรี ออโต้ / ปตท / กรุงไทยแอ็คซ่าส์ / แพนดอร่า / เอ็มเค เรสโตรองต์ / บสย
•  ที่ปรึกษากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
สนใจอบรม In-House Training สามารถติดต่อ ได้ที่
คุณกานต์สินี หรือ คุณธนวรรณ โทรศัพท์ 086-3263004 
email : cs@geniustraining.co.th
สมัครอบรมสัมมนา