การประยุกต์ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) สำหรับผู้บริหารองค์กร

         เนื่องมาจากเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น “ข้อมูล” ที่เกิดจากช่องทางสื่อสารต่าง ๆ มากมาย จึงเป็นสิ่งมีค่าในยุค Big Data ทำให้การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลทำได้ง่ายขึ้น และหลายครั้งก็นำมาซึ่งความเดือดร้อนรำคาญหรือสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูล ตลอดจนสามารถส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้ด้วย จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการเก็บรักษาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้ยินยอม ดังนั้น จึงต้องมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่รวมถึงการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลขึ้น 
ในส่วนขององค์กรและพนักงานในองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องทราบและเข้าใจ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562 เพื่อให้สามารถนำไปใช้และปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตัวพนักงานและองค์กร
วัตถุประสงค์
          1.  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
          2.  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถต่อยอดองค์ความรู้ในระดับที่สูงขึ้นซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการคุ้มครองและรับรองการใช้สิทธิของผู้เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและสร้างความสอดคล้องต่อบทบัญญัติของกฎหมาย
          3.  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล การเผยแพร่ข้อมูล ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล
          4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงเทคโนโลยีและเครื่องมือ รวมทั้ง แนวทางประยุกต์ใช้ระบบการจัดการเพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะผู้บริหารองค์กร
          5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เนื้อหาหลักสูตร
          1.   ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562
          2.   กฎหมายและขอบเขตกฏหมาย
          3.   นิยามตามกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
          4.   บทบาทหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และผู้ประมวลข้อมูลส่วนบุคคล
          5.   ฐานแห่งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
          6.   ข้อมูลอ่อนไหวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
          7.   สิทธิของผู้เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
          8.   ความสัมพันธ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562 กับพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้
          9.   การสร้างภาวะผู้นำด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
          10. เทคโนโลยีและเครื่องมือเพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
          11. แนวทางการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการเพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
          12. บทกำหนดโทษในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
รูปแบบการอบรม
     -  บรรยายหลักการทฤษฎี
     -  ระดมสมอง ฝึกปฏิบัติ Workshop และนำเสนอ
วิทยากร : อาจารย์ อดิศร นิลวิสุทธิ์     

     •  วิทยากร / ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล หน่วยงายภาครัฐและเอกชน
     •  อุปนายกสมาคม สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ (CIPAT)
     •  คณะทำงาน มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
     •  คณะทำงาน เพื่อการพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
     •  อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     •  ผู้ตรวจประเมินศูนย์สอบ CB ด้าน H/W และ Security สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
     •  ผู้ทรงคุณวุฒิวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

สนใจอบรม In-House Training สามารถติดต่อ ได้ที่
คุณกานต์สินี หรือ คุณธนวรรณ โทรศัพท์
065-3916594 
email : cs@geniustraining.co.th
สมัครอบรมสัมมนา